เขาตังกวน
อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาน้อย มีบันไดทางขึ้นอยู่ใกล้วัดแหลมทราย (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต) บนยอดเขามีเจดีย์และตำหนักซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาตังกวนแล้ว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลา และทะเลสาบสงขลาได้อย่างชัดเจน
สิ่งที่น่าสนใจบนยอดเขาตังกวน
เจดีย์พระธาตุ
พระเจดีย์หลวง พระเจดีย์หลวงเป็นอีกหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของเขาตังกวน พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆัง สันนิษฐานว่าเป็น พระเจดีย์โบราณที่มีมานาน แต่ไม่ปรากฎหลักฐานความเป็นมาที่ชัดเจน จนต่อมาในปี พ.ศ.2402 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินประพาสเมืองสงขลา หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2409 จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินหลวง 37 ชั่ง ให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น) ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่กว่าของเก่า และในครั้งนั้น เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เม่น)ได้ สร้างคฤห์ไว้ที่ฐานพระเจดีย์ และต่อเติมเก๋งที่มุมกำแพง พระเจดีย์หลวงเป็นพระเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง ของสงขลาจึงมีการบูรณะซ่อม แซมมาโดยตลอด ในปีพ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าพระราชทาน พระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องสักการะบูชาประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์หลวง เพื่อไว้เป็นที่สักการะบูชาของชาวเมืองสงขลาสืบต่อไป
ประภาคาร
เป็นอาคารที่สำคัญอย่างหนึ่งของเขาตังกวนสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2439 ครั้งพระยาวิเชียรคีรี (ชม) เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้โปรดให้ กรมทหารเรือทำเครื่องหมายประดับประกอบตัวโคมและส่งแบบฐานปูนให้ข้าหลวงออกมาจัดการก่อสร้างประภาคาร ตามพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในบริเวณที่พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) และพระยาชลยุทธโยธินเป็นผู้ เลือกสถานที่ ประภาคารนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2440
ศาลาพระวิหารแดง
จากลานพระเจดีย์หลวงมีทางเดินลงบันไดมายังศาลาพระวิหารแดง ประวัติการก่อสร้างศาลาพระวิหารแดง พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างพลับพลาที่ประทับนี้แต่ยังคงสร้างค้างอยู่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสแหลมมลายูถึงเมืองสงขลา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นนมัสการพระเจดีย์บนยอดเขาตังกวน มีพระราชศรัทธาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างศาลาพระวิหารจนสำเร็จในเวลาต่อมา แล้วยังทรงพระราชดำริให้สร้างบันไดนาคขึ้นจาก พลับพลา สำเร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. 2440 วิวสวยหน้าศาลาพระวิหารแดง พลับพลาที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หันหน้าพลับพลาไปด้านเชิงเขาด้านหนึ่งของเขาตังกวน เป็นบริเวณที่วิวเปิดเห็นทิวทัศน์ได้ไกล และสวยงามมากภายในศาลาพระวิหารแดง ลักษณะการก่อสร้างภายใน เป็นเสามีช่องทางเดินทะลุถึงกันแต่ละช่องมีขนาดเท่ากัน และเป็นแบบเดียวกันทั้งหมดอย่างที่เห็นในภาพนี้เลยครับมองจากด้านหน้า จะทะลุไปจนถึงด้านหลัง มองจากด้านข้างด้านหนึ่งจะ ทะลุไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง ช่องทางด้านหน้าและด้านหลัง ช่องทางเดินเข้าออกศาลาพระวิหารแดง คงไม่เรียกว่าประตูเพราะไม่มี ทั้งบานประตูและบานหน้าต่าง ด้านหลังเป็นทางไปบันไดนาคขึ้นยอดเขาตังกวนและพระเจดีย์หลวง ช่องด้านหน้าเป็นทางเดินลงไป เชิงเขาทางบันได
ลานชมวิวเขาตังกวน
จากยอดเขาตังกวนก็จะมองเห็นวิวของเมืองสงขลาได้รอบด้านแบบ 360 องศา มีที่นั่งให้นั่งชมวิว ลานชมวิวแห่งนี้มีรูปหลวงปู่ทวด อยู่กลางลานบนฐานที่ยกสูงขึ้นไป วิวสวยเมืองสงขลา ลานชมวิวหน้าพระเจดีย์หลวงจะมองเห็นตัวเมืองสงขลาได้กว้างไกลมากๆ ทั้ง วิวตัวเมืองและทะเลสาปสงขลา รวมทั้งหาดสมิหลา
การเดินทางสู่เขาตังกวน
เขาตัวกวนตั้งอยู่ในตัวเมืองสงขลาใกล้กับหาดสมิหลา สามารถนั่งรถโดยสารแดง หรือรถตุ๊ก ตุ๊ก มอเตอร์ไซต์ ที่ให้บริการอยู่ใน ตัวเมือง
การขึ้นสู่ยอดเขาตังกวน ปัจจุบัน ทำได้ 2 วิธี คือ
- ขึ้นลิฟส์โดยสารจากจุดบริการลิฟส์โดยสาย ณ บริเวนถนนตัดระหว่างเขาตังกวนและเขาน้อย ค่าบริการ ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท เด็ก 20 บาท โดยเปิดบริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. และ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
8.00-19.00 น.
- ขึ้นโดยการเดินขึ้นบันไดฝั่งตรงตะวันตก ซึ่งเป็นฝั่งตรงข้ามลิฟส์โดยสาร ตลอดระยะทางมีบันไดหิน สลับกับจุดพักและจุดชมวิว เป็นช่วง ๆ ขอดีคือจะสามารถชมมุมมอง ได้หลายมุม หลายระดับ ณ บริเวณบันไดนาค ถึงวิหารแดงจำนวน 145 ขั้น
|